การเลี้ยงไก่ไข่
ส่วนแหล่งที่มาของใข่ไก่นั้นก็มีทั้งแบบเลี้ยงเองตามธรรมชาติ กินเปลือกข้าว รำข้าว แมลง ตามท้องนา และอีกแบบที่นิยมเลี้ยงกันก็คือแบบโรงเรือน
การเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือน สำหรับเป็นข้อมูลของเกษตกรอีสานบ้านเรา รวมถึงพี่น้องทางภาคอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นเลี้ยงในครัวเรือนหรือผู้ที่คิดจะเลี้ยงเป็นอาชีพ ก่อนอื่นสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือ
พันธุ์ไก่ใข่
โดยจะแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ
ไก่พันธุ์แท้
เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้ ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร
โร๊ดไอส์แลนด์แดง หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไก่โร๊ด เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีอายุกว่า 100 ปี โดยการผสมและคัดเลือกพันธุ์มาจากพันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซี่ยงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ำตาล ไก่ไวยันดอทท์ และไก่บราห์มาส์ ไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง มี 2 ชนิดคือ ชนิดหงอนกุหลาบและหงอนจักร แต่นิยมเลี้ยงชนิดหงอนจักร
รูปร่างลักษณะ
#มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เหมือนสี่เหลี่ยมยาว
#ขนสีน้ำตาลแกมแดง
#ผิวหนังและแข้งสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง
#เปลือกไข่สีน้ำตาล
ลักษณะนิสัย
#เชื่อง แข็งแรง
#สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
#เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 5 เดือนครึ่ง – 6 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 280-300 ฟอง
#น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3.1-4.0 ก.ก. เพศเมียหนัก 2.2-4.0 ก.ก.
บาร์พลีมัทร็อค หรือที่เรียกกันว่า ไก่บาร์ เป็นไก่พันธุ์พลีมัทร็อค ผิวหนังสีเหลือง
รูปร่างลักษณะ
#ขนสีบาร์ คือมีสีดำสลับกับขาวตามขวางของขน
#หงอนจักร
#ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล
#เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง – 6 เดือน
เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร จัดเป็นไก่พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน ปัจจุบันนิยมผสมข้าม
สายพันธุ์ตั้งแต่สองสายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตเป็นไก่ไข่ลูกผสมเพื่อการค้า
สายพันธุ์ตั้งแต่สองสายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อผลิตเป็นไก่ไข่ลูกผสมเพื่อการค้า
รูปร่างลักษณะ
#มีขนาดเล็ก
#ขนสีขาว
#ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาว
#มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง เพราะมีขนาดเล็ก ทนร้อนได้ดี
#เริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 4 เดือนครึ่ง – 5 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง
#น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 2.2-2.9 ก.ก. เพศเมีย 1.8-2.2 ก.ก.
ไก่พันธุ์ผสม
คือไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 สายพันธุ์ ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด
จุดประสงค์ของไก่พันธุ์ผสมก็เพื่อ ให้ได้ไก่ที่ให้ไก่ดก ทนทานโรค โตเร็ว โดยเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ ที่ให้การผลิตไข่ในจำนวนมากและราคาที่ถูกที่สุด ส่วนมากแล้วการผสมไก่ลักษณะนี้ลูกผสมที่ได้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทนทานต่อโรค ไก่ลูกผสมที่ยังมีผู้นิยมเลี้ยงอยู่บ้าง ได้แก่ ไก่ลูกผสมระหว่างพ่อโร๊ด+แม่บาร์, พ่อบาร์+แม่โร๊ด, เล็กฮอร์น+โร๊ด, โร๊ด+ไฮบริด และลูกผสม 3 สายเลือด คือ ลูกตัวเมียที่ได้จากลูกผสมพ่อโร๊ด+แม่บาร์ นำไปผสมกับพ่อไก่อู ลูกผสมที่ได้จะมีเนื้อดี โตเร็ว และไข่ดี
ไกไฮบรีด
เป็นไก่พันธุ์ไข่ที่มีผู้นิยมเลี้ยงมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นพันธุ์ไก่ที่ผสมขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตลูกไก่พันธุ์จำหน่ายได้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ไก่พันธู์ที่ให้ผลผลิตไข่สูง และมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด คือ ให้ไข่ดก เปลือกไข่สีน้ำตาล ไข่ฟองโตและไข่ทน ไก่ไฮบรีดจะมีลักษณธะเด่นประจำพันธุ์และมีข้อมูลประจำพันธุ์อย่างละเอียด เช่น อัตราการเจริญเติบโต เปอร์เซนต์การไข่ ระยะเวลาในการให้ไข่ ขนาดของแม่ไก่ อัตราการเลี้ยงรอด ขนาดของฟองไข่ สีของเปลือกไข่ ปริมาณอาหารที่กิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไก่ไฮบรีดนี้ต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพสูง มีการจัดการที่ถูกต้อง เช่น การควบคุมน้ำหนักตัว การควบคุมการกินอาหาร การควคุมแสงสว่าง ตลอดทั้งการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคที่ดี
ด้วยเหตุนี้ที่ไก่ไฮบรีดส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ที่ดำเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่เป็นการค้า ซึ่งจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ไก่ไข่ไฮบรีดจึงมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่บริษัทผู้ผลิตจะตั้งขึ้น ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทย ได้แก่ ดีคาร์บ, ซุปเปอร์ฮาร์โก้, เอ-เอบราวน์, เซพเวอร์สตาร์คร็อส, เมโทรบราวน์ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ที่ไก่ไฮบรีดส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ที่ดำเนินการโดยบริษัทผลิตพันธุ์ไก่เป็นการค้า ซึ่งจะรักษาไก่ต้นพันธุ์และระบบการผสมพันธุ์ไว้เป็นความลับเพื่อผลประโยชน์ในทางการค้า ไก่ไข่ไฮบรีดจึงมีชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่บริษัทผู้ผลิตจะตั้งขึ้น ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทย ได้แก่ ดีคาร์บ, ซุปเปอร์ฮาร์โก้, เอ-เอบราวน์, เซพเวอร์สตาร์คร็อส, เมโทรบราวน์ เป็นต้น
อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้าจำเป็นที่ต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงนับตั้งแต่ระยะลูกไก่จนถึงระยะให้ไข่ ดังนี้
- อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
- อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
- เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
- รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
- วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่
- อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากมี 4 ชนิด คือ
1.1ถาดอาหาร ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7 วัน ได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น
1.2.รางอาหาร ทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติก ทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองขาง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรบลูกไก่ และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่แทนก็ได้
1.3.ถังอาหาร ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่
1.4.รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่งถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1,000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว
2. อุปกรณ์ให้น้ำ แตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณ์ให้น้ำที่นิยม มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
2.1 แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเอสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อ ไก่ 1 ตัว
2.2 แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้มากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากขอบประมาณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ได้ลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกควรใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อลูกไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว
3. เครื่องกกลูกไก่
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการเลี้ยงลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในขณะที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่ ซึ่งมีหลายแบบ ดังนี้
3.1 เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้ความร้อนสะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้วยแขวนกับเพดาน สามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกก เมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน
3.2 เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรด การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟอินฟราเรด ซึ่งหลอดไฟอินฟราเรดขนาด 250 วัตต์ 1 หลอด แขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45-60 เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยทั่วไปจะใช้หลอดอินฟราเรดจำนวน 4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะไม่ช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่ลูกไก่
3.3 เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนไปตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดี การกกลูกไก่ด้วยวิธีนี้การให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตรงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง
2-2.5 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออกมาตามท่อกระจายไปทั่วคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนอาจได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น
2-2.5 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออกมาตามท่อกระจายไปทั่วคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนอาจได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น
4. รังไข่
รังไข่ที่ดีต้องมีขนาดกว้างพอ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศได้ดี เย็น ภายในมีความมืดพอ และวางอยู่ในที่มีความเหมาะสมภายในโรงเรือนไก่ไข่ รังไข่อาจะทำด้วยไม้หรือสังกะสี รังไข่ทำด้วยไม้อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาด และจะเป็นที่อาศัยของไรแดง รังไข่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้
5. วัสดุรองพื้น
หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเพื่อให้ไก่ในคอกสะอาดและอยู่ได้สบาย วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี
วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางข้าวโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร
วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางข้าวโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร
6. อุปกรณ์การให้แสง
เนื่องจากแสงสว่างมีความจำเป็นต่อการมองเห็นของไก่ ไม่ว่าเวลากินอาหาร กินน้ำ หรืออื่นๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่ ดังนั้น ภายในโรงเรือนจะต้องมีอุปกรณ์การให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมติดตั้งหลอดไฟ หลอดไฟที่นิยมใช้กันมาก คือ หลอดกลมธรรมดาและหลอดฟลูออกรสเซนต์หรือหลอดนีออน
กฎของการให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ คือ
1. ความยาวของแสงจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 8-16 สัปดาห์
2. ไม่ลดความยาวของแสงหลังจากไก่เริ่มไข่
2. ไม่ลดความยาวของแสงหลังจากไก่เริ่มไข่
การให้แสงสำหรับไข่ในประเทศไทย ขอแนะนำดังนี้
อายุ | ความยาวแสง |
0-2 วัน 3-4 วัน 5-6 วัน 7-8 วัน 9-10 วัน 11 วัน – 16 สัปดาห์ 17 สัปดาห์ 18 สัปดาห์ 19 สัปดาห์ 20 สัปดาห์ 21 สัปดาห์ 22 สัปดาห์ | 22 ชั่วโมง 20 ชั่วโมง 18 ชั่วโมง 16 ชั่วโมง 14 ชั่วโมง 13 ชั่วโมง 13.5 ชั่วโมง 14 ชั่วโมง 14.5 ชั่วโมง 15 ชั่วโมง 15.5 ชั่วโมง 16 ชั่วโมง |
แสงสว่างที่เพิ่มขอแนะให้ใช้ความเข้มประมาณ 20-30 ลักซ์ หรือหลอดไฟ 4 วัตต์ ต่อตารางเมตร
ข้อแนะนำสำหรับความเข้มของแสง
ข้อแนะนำสำหรับความเข้มของแสง
อายุ | ความเข้มของแสง | ข้อแนะนำการใช้หลอดกลมมีไส้ (วัตต์) | |
ลักซ์ | ฟุต-แรงเทียน | ||
0-3 วัน 4 วัน – 126 วัน 127 วัน – ปลด | 20 5 5 | 2.0 0.5 0.5 | 40 – 60 15 15 |
7. ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อน ควรเปิดม่านขึ้นเล็กน้อยในเวลากลางวัน เพื่อให้ลมพัดผ่านภายในโรงเรือน และปิดม่านในตอนเย็น
8. คอนนอน การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้นโดยเฉพาะในระยะไก่สาว มีความจำเป็นจะต้องทำคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้นอน และยังช่วยให้ไก่เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในคอกคอนนอนอาจะทำขึ้นเป็นคอนนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ไม้ขนาด 1×4 นิ้ว หรือ 1×3 นิ้ว หรือ 2×3 นิ้ว หรือ 2×2นิ้ว ก็ได้ ส่วนความยาวตามต้องการ ลบเหลี่ยมไม้ให้กลมเพื่อให้ไก่เกาะได้สะดวกและไม่เป็นอันตรายต่อเท้าและอกไก่ โดยวางเอาด้านแคบขึ้น วางห่างกันประมาณ 33-41 เซนติเมตร ให้มีเนื้อที่คอนนอน 10-15 เซนติเมตรต่อตัวสำหรับไก่สาว และ 18-20 เซนติเมตร สำหรับไก่ไข่ ใต้คอนนอนและด้านข้างต้องบุด้วยลวดตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน ควรอยู่ติดข้างฝาด้านใดด้านหนึ่งของโรงเรือน ในระยะไก่สาวควรลดระดับด้านหน้าของคอนนอนลงให้ต่ำพอที่ไก่จะขึ้นเกาะคอนได้สะดวก เมื่อไก่โตขึ้นค่อยยกระดับขึ้นให้สูงกว่าระดับปกติดประมาณ 75 เซนติเมตร
มาที่ส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหารและการให้อาหารของไก่ไข่ ผลผลิตที่ออกมานั้นจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ในส่วนของอาหารและวิธีการให้อาหารจึงสำคัญมากเพราะเป็นตัวชี้วัดผลกำไรและขาดทุนได้เลยทีเดียว
อาหารของไก่ไข่
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่
- อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที
- หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร
- อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
- อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน
ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้ โดยทางทีมงานอีสานร้อยแปด จะแบ่งให้ทุกคนดูง่ายๆ เป็น สารอาหาร 6 ประเภทใหญ่ๆ
อาหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การเลี้ยงไก่ไข่มีกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตประมาณ 60-70 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าอาหาร ไก่ไข่นั้นนอกจากจะต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโตแล้ว ยังต้องนำไปใช้ในการผลิตไข่อีกด้วย การที่ผู้เลี้ยงจะลดต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าอาหารลงนั้น สามารถทำได้โดยการประกอบสูตรอาหารที่มีราคาถูก แต่คุณภาพดี เลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาถูกตามฤดูกาลและให้อาหารแก่ไก่กินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำ
การที่ไก่จะเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรงและให้ไข่มาก จำเป็นจะต้องได้กินอาหารที่เพียงพอและกินอาหารได้ดีสม่ำเสมอทุกวัน โดยทั่วไปแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยสารอาหาร 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
การที่ไก่จะเจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรงและให้ไข่มาก จำเป็นจะต้องได้กินอาหารที่เพียงพอและกินอาหารได้ดีสม่ำเสมอทุกวัน โดยทั่วไปแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยสารอาหาร 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. โปรตีน เป็นสารประกอบที่สำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ประกอบด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยในการสร้างและซ่อมแซมรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขน เล็บ หนัง กระดูก อวัยวะภายในต่างๆ เม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของผลผลิต เช่น ไข่ รวมทั้งยังนำไปใช้ในการสร้างเนื้ออีกด้วย โดยปกติแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 13-19% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของไก
2. คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และช่วยให้ไก่อ้วน คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งในการให้พลังงานแก่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต เช่น ไข่ ฯลฯ คาร์โบไฮเดรตถือเป็นอาหารหลัก เพราะเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่ไข่ประมาณ 38-61% ขึ้นอยู่กับอายุไก่ คาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 พวกตามลักษณะความยากง่ายในการย่อย คือ น้ำตาล และแป้งกับเยื่อใย แหล่งคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ได้มาจากพืช
3. น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ร่างกายไก่มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60-70% ลูกไก่อายุ 1 วัน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 85% และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น น้ำมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อย การดูดซึม การรักษาระดับความร้อนปกติในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกาย น้ำนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นและมีความสำคัญที่สุด เพราะถ้าไก่ขาดน้ำจะทำให้ไก่ไม่อยากกินอาหารและอาจถึงตายได้ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องหาภาชนะใส่น้ำจืดสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา หากไก่ขาดน้ำจะแคระแกร็น และการสูญเสียน้ำเพียง 10% ของร่างกาย ไก่จะตายได้
4. ไขมัน เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ให้พลังงานมากกว่า 2.5 เท่า และยังให้กรดไขมันบางชนิดที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ให้ความอบอุ่น ทำให้อ้วนและช่วยเพิ่มความน่ากินของอาหาร ส่วนมากจะได้จากไขมันสัตว์และน้ำมันพืช หากปริมาณไขมันมากเกินไปจะทำให้ไก่ถ่ายเหลวหรือท้องเสีย ทำให้พื้นเปียกแฉะ วัสดุรองพื้นจะเสียเร็ว
5. วิตามิน จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของไก่ ช่วยสร้างความแข็งแรงและความกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท แต่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปตามปกติ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามคุณสมบัติในการละลาย คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค และวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี ซี หากไก่ขาดจะทำให้โตช้าและเป็นโรคขาดวิตามินนั้นๆ
6. แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างความเจริญเติบโต สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่ และอื่นๆ ร่างกายสัตว์มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 3% ของน้ำหนักตัว แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม คลอรีน เหล็ก กำมะถัน ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และสังกะสี
ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่
1. อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยมากจะเติมยาปฏิชีวนะ, วิตามิน, แร่ธาตุ และกรดอะมิโนที่จำเป็นลงไปด้วย อาหารนี้นำไปเลี้ยงไก่ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสริมอะไรอีก
2. หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่างๆ ยกเว้นธัญพืชหรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร แต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบอื่นบางอย่างราคาถูกหรือที่ปลูกเก็บเกี่ยวเอง เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เมื่อผสมกับอาหารข้นตามอัตราส่วนที่กำหนด ก็จะได้อาหารสมดุลซึ่งมีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการ
3. อาหารอัดเม็ด เป็นการนำอาหารผสมสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปของอาหารผสมไปผ่านกรรมวิธีการอัดเม็ด ก็จะได้อาหารอัดเม็ดขนาดต่างๆ ตามอายุของไก่
4. อาหารเสริม คืออาหารหรือวัตถุดิบที่เติมไปกับส่วนประกอบต่างๆ ที่จะผสมเป็นอาหารใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยเสริมคุณภาพของอาหารนั้นๆ ให้ดีขึ้นและให้เป็นอาหารที่สมดุล
สูตรอาหารไก่ไข่เล็ก (อายุแรกเกิด – 6 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.) | สูตรที่ 1 | สูตรที่ 2 | สูตรที่ 3 | สูตรที่ 4 |
ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น รำละเอียด กากถั่วเหลือง ปลาป่น ไดแคลเซียมฟอสเฟต เกลือ พรีมิกซ์ไก่ไข่เล็ก | 56 – – – 112 22 8 1 0.5 0.5 | – 61.2 – – 10 18.8 8 1 0.5 0.5 | – – 59.3 – 12 18.7 8 1 0.5 0.5 | – – – 46.2 15 26.8 10 1 0.5 0.5 |
รวม | 100 | 100 | 100 | 100 |
สูตรอาหารไก่ไข่รุ่น (อายุ 6-14 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.) | สูตรที่ 1 | สูตรที่ 2 | สูตรที่ 3 | สูตรที่ 4 |
ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น รำละเอียด กากถั่วเหลือง ปลาป่น เปลือกหอย ดีแอล-เมทไธโอนีน เกลือ พรีมิกซ์ไก่ไข่รุ่น | 51.5 – – – 29 10 8 0.5 – 0.5 0.5 | – 58.3 – – 25 7.2 8 0.5 – 0.5 0.5 | – – 56.4 – 27 7.1 8 0.5 0.05 0.5 0.5 | – – – 46.6 26 18.1 8 0.3 0.05 0.5 0.5 |
รวม | 100 | 100 | 100 | 100 |
สูตรอาหารไก่ไข่สาว (อายุ 14-20 สัปดาห์)
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.) | สูตรที่ 1 | สูตรที่ 2 | สูตรที่ 3 | สูตรที่ 4 |
ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น รำละเอียด ใบกระถินป่น กากถั่วเหลือง ปลาป่น เปลือกหอย ไดแคลเซียมฟอสเฟต ดีแอล-เมทไธโอนีน เกลือ พรีมิกซ์ไก่ไข่สาว | 55 – – – 30 4 5.8 3 0.7 0.5 – 0.5 0.5 | – 58.3 – – 30 4 2.6 3 0.8 0.3 – 0.5 0.5 | – – 58.3 – 30 4 2.6 3 0.8 0.3 0.05 0.5 0.5 | – – – 48.2 30 4 11.1 5 0.7 – 0.05 0.5 0.5 |
รวม | 100 | 100 | 100 | 100 |
สูตรอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ก.ก.) | สูตรที่ 1 | สูตรที่ 2 | สูตรที่ 3 | สูตรที่ 4 |
ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น รำละเอียด ใบกระถินป่น กากถั่วเหลือง ปลาป่น ไขมันสัตว์/น้ำมันพืช เปลือกหอย ไดแคลเซียมฟอสเฟต ดีแอล-เมทไธโอนีน เกลือ พรีมิกซ์ไก่ไข่สาว | 47 – – – 20 -5 9.9 8 1 8.3 – 0.1 0.5 0.25 | – 47.9 – – 20 5 8.8 7 2 8.5 – 0.1 0.5 0.25 | – – 46.6 – 20 5 9 7 3 8.3 0.2 0.15 0.5 0.25 | – – – 38.8 20 5 16.6 8 2.5 8.2 – 0.15 0.5 0.25 |
รวม | 100 | 100 | 100 | 100 |
การทำวัคซีนไก่ไข่
1. วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชีพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก หรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงาน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก
2. วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่ความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำ วัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย
วิธีการทำวัคซีน
การทำวัคซีนไก่สามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค
1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในน้ำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้อง) การใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐาน เพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมตาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การหยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุกๆ ตัว ดังนั้น ภูมิคุ้มโรคที่เกิดจึงมีระดับใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิธีการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่าเท่านั้น
2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ คือบริเวณใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซี.ซี. โดยสังเกตุจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากการแทงเข็มผ่าน
3. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน
4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ เป็นต้น
5. การละลายน้ำดื่ม เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวนมากๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะต้องหยุดให้น้ำไก่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ไก่กระหายน้ำและกินน้ำผสมวัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการอดน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุปกรณ์ให้น้ำต้องเพียงพอสำหรับไก่จำนวน 2 ใน 3 ของคอกสามารถเข้าไปกินน้ำได้พร้อมๆ กัน ถ้าไม่พออาจเพิ่มอุปกรณ์ให้น้ำขึ้นมาชั่วคราวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ จุดนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัยที่สุด เพราะการล้มเหลวจากการให้วัคซีนนี้มักเกิดจากระบบน้ำไม่ถูกต้องและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ละลายวัคซีนจะผันแปรไปตามอายุของไก่ ดังนี้
อายุ 1 สัปดาห์ | ใช้น้ำ | 2-5 | ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว | |
อายุ 2-3 สัปดาห์ | ใช้น้ำ | 9-11 | ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว | |
อายุ 5-7 สัปดาห์ | ใช้น้ำ | 14-18 | ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว | |
อายุมากกว่า 7 สัปดาห์ | ใช้น้ำ | 20-23 | ลิตรต่อไก่ 1,000 ตัว |
6. การสเปรย์ เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับการทำวัคซีนครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสในระบบะทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือโรงเรือนที่เลี้ยง โดยสเปรย์ใส่ลูกไก่ที่อยู่ในกล่องเลย ลูกไก่จะได้รับวัคซีนผ่านทางลูกตาหรือจมูก เป็นวิธีที่ทำได้รวดเร็ว สามารถให้วัคซีนแก่ไก่จำนวนมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่ประมาณวัคซีนที่ได้รับอาจแตกต่างกันไป การสเปรย์ควรสเปรย์ให้พอหมาดๆ ไม่ควรให้ตัวลูกไก่เปียกโชก และควรทิ้งลูกไก่ไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ตัวแห้ง
ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน
1. อายุของไก่และระยะเวลาในการทำวัคซีนจะมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในการทำวัคซีนจึงควรทำตามกำหนดเวลาอย่างถูกต้อง
2. สุขภาพของไก่ขณะที่ทำวัคซีนจะต้องมีความสมบูรณ์ แจ่มใส แข็งแรง ไม่เป็นโรคระบาด และต้องปลอดภัยจากพยาธิ เพราะอาจจะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ผลเท่าที่ควร ทั้งอาจทำให้ไก่ป่วยมีอาการขั้นรุนแรงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของไก่และอาการแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรให้ยาปฏิชีวนะหรือไวตามิน 3 วันติดต่อกัน กล่าวคือ ก่อนและหลังทำวัคซีน 1 วัน และในวันทำวัคซีนอีก 1 วัน
3. วัคซีนที่ใช้ต้องไม่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ และควรซื้อวัคซีนจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น
4. การเก็บรักษาวัคซีน จะต้องเก็บไว้ในที่เย็นจัด เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตามคำแนะนำของการใช้วัคซีนนั้น การขนส่งจะต้องบรรจุในกระติดน้ำแข็งผสมเกลือ และควรระวังอย่าให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงอาทิตย์ เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อมสภาพได้
5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำวัคซีนทุกชิ้นจะต้องได้รับการทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ อาจเป็นวิธีต้ม นึ่งไอน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง ในกรณีที่ทำวัคซีนละลายน้ำ ควรล้างภาชนะต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง
6. ในการผสมวัคซีน จะต้องผสมในอัตราที่ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อผสมเสร็จแล้วควรรีบใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง
7. วัคซีนที่ผสมแล้วเหลือใช้ รวมทั้งหลอดหรือขวดบรรจุวัคซีน ก่อนทิ้งควรผ่านการต้มฆ่าเชื้อเสียก่อน
โปรแกรมวัคซีนในไก่ไข่
อายุไก่ | ชนิดวัคซีน | วิธีทำ | หมายเหตุ |
1 วัน 1 วัน | มาเร็กซ์ หลอดลมอักเสบ | ฉีดใต้ผิวหนัง หยอดตา | ทำจากโรงฟัก ทำเมื่อลูกไก่ถึงฟาร์ม |
10 วัน | นิวคาสเซิลลาโซต้า | หยอดตา | |
14 วัน | กัมโบโร | ละลายน้ำ | ชนิดเชื้อเป็น |
4 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ ผีดาษ | หยอดตา แทงปีก | |
5 สัปดาห์ | วัคซีนหวัด กล่องเสียงอักเสบ | ฉีดเข้ากล้าม หยอดตา | 1/2 โด๊ส ในพื้นที่ที่มีโรค 1/2 โด๊ส ระบาดรุนแรง |
8 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลม นิวคาสเซิล | หยอดตา ฉีดเข้ากล้าม | ชนิดเชื้อเป็น ชนิดเชื้อตาย |
10 สัปดาห์ | กล่องเสียงอักเสบ | หยอดตา | |
14 สัปดาห์ | วัคซีนหวัด หลอดลมอักเสบ | ฉีดเข้ากล้าม หยอดตา | |
16 สัปดาห์ | * อี.ดี.เอส + นิวคาสเซิล | ฉีดเข้ากล้าม | ชนิดเชื้อตาย |
22 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ | |
32 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ | |
40 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ | |
48 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ | |
56 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ | |
64 สัปดาห์ | นิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ | ละลายน้ำ |
* โปรแกรมวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะของโรคระบาดที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่
ต่อมาเป็นที่อยู่อาศัยของไก่ไข่ ซึ่งในเนื้อหานี้จะเป็นการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ในโรงเรือน ซึ่งจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ โรงเรือนจะต้องสร้างให้ถูกต้อง มีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้
โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่
- ป้องกันแดด ลม และฝนได้
- แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
- ทำความสะอาดได้ง่าย
- ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
- ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
- ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
แบบโรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่
ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัสดุ ความยากง่ายในการสร้าง รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดังนี้
- แบบเพิงหมาแหงน
แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมีข้อเสียคือฝนอาจจะสาดเข้าทางด้านหน้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงน้อย - แบบหน้าจั่วชั้นเดียว
ข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถป้องกันแดด ลม ฝนได้ดีกว่า แต่จะมีค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าก่อสร้างมากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะรูปแบบมีความซับซ้อนมากกว่า - แบบหน้าจั่วสองชั้น
แบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วชั้นที่ 2 เพิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบนี้จะระบายความร้อนได้ดีและเย็นกว่าแบบหน้าจั่วชั้นเดียว แต่ก็จะมีค่าก่อสร้างแพงกว่าหน้าจั่วชั้นเดียว - แบบหน้าจั่วกลาย
คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ดีกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่าเพิงหมาแหงน - แบบเพิงหมาแหงนกลาย
แบบนี้จะมีกว่าเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว เพราะมีการระบายอากาศ และกันฝน กันแดดได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบหน้าจั่วหลาย
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ 1
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ 2
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ 3
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ 4
- โรงเรือนเลี้ยงไก่ 5
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวคิดและวิธีการการเลี้ยงไก่ไข่ขั้นพื้นฐานนะครับ ถ้าหากใครต้องการข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นก็สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมปศุสัตว์ได้โดยตรงเลยนะครับ
No comments:
Post a Comment